3 องค์ประกอบของการเกิดเพลิง (Fire Triangle)

3-องค์ประกอบของการเกิดเพลิง

รู้หรือไม่องค์ประกอบของไฟมีอะไรบ้าง วันนี้เรามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเกิดอัคคีภัย องค์ประกอบของการติดไฟที่อาจเกิดขึ้นได้นั้นมีอะไรบ้างมาฝาก เพื่อให้ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นและได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอบรมดับเพลิงด้วย

เหตุเพลิงไหม้

โดยองค์ประกอบของการติดไฟมีด้วยกันทั้งหมด 3 อย่างได้แก่

1.เชื้อเพลิง (fuel)

เชื้อเพลิงเป็นองค์ประกอบของไฟอย่างหนึ่ง คือ วัตถุใดๆ ก็ได้ที่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนได้รวดเร็วในการเผาไหม้ เช่น น้ำมัน โลหะพลาสติก ก๊าซ ไม้ กระดาษ เป็นต้น เชื้อเพลิงที่อยู่ในสถานะของก๊าซสามารถลุกไฟไหม้ได้ แต่เชื้อเพลิงที่อยู่ในสถานะของแข็งและของเหลวจะไม่สามารถลุกติดไฟได้ ถ้าโมเลกุลผิวของเชื้อเพลิงไม่อยู่ในสภาพที่เป็นก๊าซ การแปรสภาพเป็นก๊าซต้องอาศัยความร้อนที่แตกต่างกันตามชนิดของเชื้อเพลิง ความแตกต่างของลักษณะการติดไฟดังกล่าวขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ 4 ประการ ได้แก่

  • ความสามารถในการติดไฟของสาร  (Flamablility Limitts) คือ ปริมาณไอของสารที่เป็นเชื้อเพลิงในอากาศ การติดไฟได้นั้นปริมาณเชื้อเพลิงที่ผสมกับอากาศต้องมีมากพอ ปริมาณต่ำสุดของไอเชื้อเพลิงคิดเป็น % ในอากาศ จุดติดไฟได้เรียกว่า “ค่าต่ำสุดของเชื้อเพลิง” และปริมาณสูงสุดของไอเชื้อเพลิงคิดเป็น % ในอากาศสามารถจุดติดไฟได้เรียกว่า “ค่าสูงสุดของเชื้อเพลิง” สารเชื้อเพลิงแต่ละชนิดจะมีค่าสูงสุดและต่ำสุดของไอเชื้อเพลิงต่างกัน
  • จุดวาบไฟ (Flash Point) คือ อุณหภูมิต่ำสุดที่สามารถทำให้เชื้อเพลิงคายไอออกมาผสมกับอากาศ ในอัตราส่วนที่เหมาะสม ถึงจุดที่ค่าต่ำสุดถึงค่าสูงสุดของไอเชื้อเพลิง เมื่อมีประกายไฟก็จะเกิดการติดไฟเป็นไฟวาบขึ้นมาแล้วดับ
  • จุดติดไฟ (Fire Point) อุณหภูมิของสารที่เป็นเชื้อเพลิงได้รับความร้อนถึงจุดที่ติดไฟได้ แต่การติดไฟนั้นจะต้องต่อเนื่องไป ปกติความร้อนของจุดติดไฟจะสูงกว่าจุดวาบไฟประมาณ 7 องศาเซลเซียส
  • ความหนาแน่นไอ (Vapor Density) คือ อัตราส่วนน้ำหนักของสารเคมีในสถานะก๊าซต่อน้ำหนักของอากาศเมื่อมีปริมาณเท่ากัน สิ่งที่ใช้บ่งบอกว่าก๊าซหนักหรือเบากว่าอากาศคือความหนาแน่นไอ

2.ออกซิเจน  (oxygen)

รอบๆ ตัวของเรามีก๊าซออกซิเจนเป็นองค์ประกอบประมาณ 21% การเผาไหม้แต่ละครั้งต้องการออกซิเจน 16% เท่านั้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าบรรยากาศรอบตัวเราถูกล้อมรอบด้วยออกซิเจนซึ่งมีปริมาณมากพอที่ทำให้เกิดการเผาไหม้ได้

3.ความร้อน  (heat)

ความร้อนก็คือองค์ประกอบของไฟอย่างหนึ่งเป็นพลังงานที่จะทำให้เชื้อเพลิงแต่ละชนิดเกิดการคายไอออกมา

ความสำคัญของการอบรมดับเพลิง

บ่อยครั้งที่เราพบว่าเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ในสถานประกอบกิจการ โรงงานหรืออาคารต่างๆ มาจากการที่ไม่สามารถควบคุมเพลิงได้ตั้งแต่แรก จึงทำให้เกิดการขยายตัวที่รวดเร็วเกินกว่าที่จะควบคุมได้ จากไฟไหม้เพียงเล็กน้อยกับกลายเป็นรุนแรง สร้างความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน กฎหมายด้านความปลอดภัยในประเทศไทยจึงให้ความสำคัญ เพื่อที่จะให้พนักงานเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการควบคุมและการดับเพลิงขั้นต้นอย่างถูกวิธี สามารถโต้ตอบกับเหตุเพลิงไหม้ต่างๆ ได้เพื่อไม่ให้ลุกลามบานปลายจนสร้างความเสียหายในวงกว้าง จึงให้สถานประกอบการต่างๆ จัดให้พนักงานได้รับการอบรมดับเพลิงปีละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย นอกจากนั้นยังเพื่อให้พนักงานได้ฝึกการอพยพหนีไฟ ได้เรียนรู้วิธีการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงอย่างถูกต้องถูกวิธีและปลอดภัยด้วย

องค์กรใดบ้างที่ต้องอบรมดับเพลิง

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยปี พ.ศ. 2555 โดยกำหนดให้สถานประกอบกิจการทุกแห่ง นายจ้างจะต้องให้ลูกจ้าง หรือพนักงานไม่น้อยกว่า 40% ของจำนวนลูกจ้างแต่ละหน่วยงานเข้ารับการอบรมดับเพลิงในขั้นต้น

ทั้งหมดนี้ ก็คือ เรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับองค์ประกอบของไฟ ความสำคัญของการอบรมดับเพลิงขั้นต้นและองค์กรใดบ้างที่จะต้องเข้ารับการอบรมดับเพลิงเพื่อให้ทุกคนได้มีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น