การยศาสตร์(Ergonomics) หลักสำคัญในการทำงาน

การยศาสตร์(Ergonomics)ในการทำงาน

การยศาสตร์ (Ergonomics) คืออะไร?

การยศาสตร์ หรือ ergonomics โดยคำว่า  “ergon” มาจากภาษากรีก หมายถึง การทำงาน ส่วนคำว่า “nomos”  หมายถึงกฎธรรมชาติ เมื่อนำทั้งสองคำมารวมกันจะได้คำว่า ergonomics  หรือ “laws of work” แปลว่า กฎของงาน เป็นศาสตร์ที่ปรับเปลี่ยนสภาพการทำงานให้เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานหรือเป็นการปรับปรุงสภาพการทำงานให้เป็นระบบนั่นเอง

การยศาสตร์เป็นเรื่องของการศึกษาสภาพการทำงานที่มีความสัมพันธ์กับผู้ปฏิบัติงานและศึกษาสภาพแวดล้อมการทำงาน โดยพิจารณาว่าสถานที่ทำงานนั้นๆ มีการออกแบบหรือปรับปรุงให้เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานหรือไม่ เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆอันมีผลกระทบด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยในการทำงาน

องค์ประกอบของการยศาสตร์

องค์ประกอบของการยศาสตร์ (Ergonomics) 

การยศาสตร์ ถือเป็นศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องกับหลายสาขาวิชา เช่น วิศวกรรมศาสตร์ จิตวิทยา สังคมศาสตร์ สุขศาสตร์อุตสาหกรรมไปจนถึงแพทยศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งได้มีการนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันเพื่อปรับปรุงคุณภาพในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและเกิดความปลอดภัย โดยจะให้ความสำคัญกับผู้ปฏิบัติงานเป็นอันดับแรกว่ามีผลกระทบจากการออกแบบเครื่องจักร เครื่องมือ และสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างไรบ้าง รวมถึงวิธีการทำงานหรือท่าทางการทำงานที่เหมาะสม หากไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดความเมื่อยล้า ความตึงเครียด และเกิดความผิดปกติได้รับบาดเจ็บสะสมเรื้อรัง แต่หากมีสภาพการทำงานที่เหมาะสม ผู้ปฏิบัติงานจะใช้พลังงานในการทำงานน้อยที่สุด เกิดความเครียด ความเมื่อยล้าน้อยลง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือมีความสบายในการทำงาน มีประสิทธิภาพในการทำงานและมีความปลอดภัยในการทำงานด้วย

ตัวอย่าง การเปลี่ยนแปลงด้านการยศาสตร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มความสะดวกสบายในการทำงานและสร้างความปลอดภัยในการทำงาน

  • การตรวจสอบรายละเอียดของชิ้นงาน ควรใช้เก้าอี้นั่งที่อยู่ในระดับต่ำกว่างานที่ต้องออกแรงมาก
  • งานที่ได้รับการออกแบบเป็นอย่างดี เป็นงานที่มีระยะทางการเคลื่อนย้ายสั้นที่สุดและมีความถี่ในการยกเคลื่อนย้ายน้อยที่สุดด้วย
  • พนักงานที่ต้องยืนทำงานควรมีน้อยที่สุด เนื่องจากงานที่ต้องยืน อาจก่อให้เกิดความเมื่อยล้ามากกว่าการนั่งทำงาน
  • สำหรับงานที่ต้องทำแบบซ้ำซากจำเจ ควรจัดให้มีการหมุนเวียนเปลี่ยนสลับการทำงาน เนื่องจากงานที่ต้องทำแบบซ้ำซากจำเจนั้นจะต้องใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำๆ และมักเป็นงานที่น่าเบื่อ แถมยังส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้ที่ปฏิบัติงานด้วย
  • ควรปรับปรุงหรือเปลี่ยนเครื่องมือที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดความไม่สะดวกหรือเกิดการบาดเจ็บในการทำงาน

ความสำคัญของการมี เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายระดับ โดยเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานแต่ละระดับนั้นมีบทบาทหน้าที่แตกต่างกันออกไปแต่หน้าที่หลักๆ คือ ช่วยแนะนำ กำกับ ดูแลและรับผิดชอบให้พนักงานในสถานประกอบการได้รับความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงการสำรวจตรวจสอบความไม่ปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นจากเครื่องจักร อุปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆ ตลอดจนสภาพแวดล้อมในการทำงาน นำไปสู่การเสนอให้มีการป้องกันและแก้ไข ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ได้มาตรฐานตามกฎหมายความปลอดภัย

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป) ในการทำงาน หากผ่านการอบรมเกี่ยวกับเรื่องของการยศาสตร์ ก็จะสามารถดูแลด้านความปลอดภัยในการทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น เข้าใจถึงหลักการ เพื่อให้การปฏิบัติงานของลูกจ้างเป็นไปอย่างเหมาะสม ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ จนนำไปสู่ความสะดวกสบายในการทำงาน ความปลอดภัยในการทำงานและมีประสิทธิภาพในการทำงาน จะเห็นได้ว่าเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญมากๆ และมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องของการปรับเปลี่ยนการยศาสตร์ให้เหมาะสมในการทำงาน

 

บริการของเรา

อบรมความปลอดภัย 6 ชม
อบรม ISO
อบรมดับเพลิง
อบรมนั่งร้าน
อบรมการทำงานบนที่สูง
อบรมที่อับอากาศ
อบรมผู้เฝ้าระวังไฟ
อบรมเครน
อบรมรถยก
อบรมไฟฟ้า
อบรม จป บริหาร
อบรมอันตรายจากเสียงดัง
อบรมปฐมพยาบาล